ลิงค์ที่ชอบ
ลิ้งค์ ที่น่าสนใจ
 มหาลัยราชภัฎอุดรธานี

ยินดีต้อนรับสู่

Thai Orchids  กล้วยไม้ไทย

 

      ประวัติกล้วยไม้

 

     กล้วยไม้เป็นพืชใบเลี้ยงเดี่ยว ในวงศ์ Orchidaceae เป็นไม้ตัดดอกยอดนิยม เนื่องจากมีลักษณะดอกและสีสันลวดลายสวยงาม เป็นไม้ตัดดอกที่มีอายุการใช้งานได้นาน กล้วยไม้เป็นพืชเศรษฐกิจที่มีความสำคัญของไทย เพราะเป็นไม้ส่งออกขายต่างประเทศทำรายได้เข้าประเทศปีละหลายร้อยล้านบาท มีการปลูกเลี้ยงอย่างครบวงจร ตั้งแต่การผสมเกสร เพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อ เลี้ยงลูกกล้วยไม้ เลี้ยงต้นกล้วยไม้จนกระทั่งให้ดอก ตัดดอกบรรจุหีบห่อและส่งออกเองอกเอง

แหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าที่สำคัญของโลกมี 2 แหล่งใหญ่ๆ ด้วยกันคือ ลาตินอเมริกา กับเอเชียแปซิฟิค สำหรับในลาตินอเมริกาเป็นอาณาบริเวณอเมริกากลางติดต่อกับเขตเหนือของอเมริกาใต้ ส่วนแหล่งกำเนิดกล้วยไม้ป่าในภูมิภาคเอเชียและแปซิฟิค มีประเทศไทยเป็นศูนย์กลาง จากการค้นพบประเทศไทยมีพันธุ์กล้วยไม้ป่าเป็นจำนวนมาก แสดงให้เห็นว่าประเทศไทยมีสภาพแวดล้อมเอื้ออำนวยต่อการเจริญงอกงามของกล้วยไม้มาก

 

 

 

  

       การค้นพบ

    แถบที่จะพบกล้วยไม้มากในแต่ละภูมิภาคของโลกคือ    แถบที่มีอากาศร้อนถึงอบอุ่น   ในเขตหนาวก็มีบ้าง  เช่น  ในทวีปยุโร ตอนเหนือ     สำหรับในประเทศไทยนั้น  นับว่าเป็นเขตที่มีสภาพแวดล้อมอันเหมาะสมแก่การปลูกเลี้ยงกล้วยไม้มาก   มีกล้วยไม้ป่าชนิดต่างๆไม่ต่ำกว่า ๑,๐๐๐ ชนิด  ทั้งชนิดที่เป็นช่อรวมกันหลายๆดอก   และชนิดดอกเดี่ยว  แต่ละชนิดก็จะมีชื่อเรียกต่างๆกันมากมาย เช่น   แวนดา   หวายต่างๆ   เอื้องต่างๆ   เป็นต้น   นอกจากนั้นยังมีผู้ผสมพันธุ์ใหม่ๆขึ้นมาเรื่อยๆ     กล้วยไม้ในบ้านเมืองของเราจึงเป็นพืชไม้ดอกที่คนนิยมซื้อ   เพื่อให้กันและกันในวาระต่างๆอย่างแพร่หลายในประเทศ  และยังเป็นสินค้าส่งออกไปขายต่างประเทศที่ไม่น้อยหน้าใครอีกด้วย

.

      องค์ประกอบ

ในคู่นี้มีลักษณะและสีสันเหมือนกัน  ดอกกล้วยไม้มีกลีบดอกอยู่  ๒  ชุดๆละ ๓ กลีบ ซ้อนแบบสลับกันอยู่ ๒ ชั้น   ขณะที่ดอกยังตูมอยู่     ชุดหนึ่งจะหุ้มอยู่ภายนอก  เมื่อดอกบาน    กลีบดอกชุดนี้จะรองรับอยู่ด้านหลังของดอก   ในวงการกล้วยไม้นิยมเรียกว่า  กลีบนอก (sepals) ส่วนอีกชุดหนึ่งซึ่งมี ๓ กลีบ เช่นเดียวกัน  แต่ในขณะที่ดอกยังตูมอยู่   จะถูกกลีบนอกห่อหุ้มไว้ภายใน   เมื่อดอกบานจะอยู่ด้านหน้า  เรียกว่า   กลีบใน (petals)ในขณะที่ดอกบานเต็มที่  กลีบนอกกลีบหนึ่งจะชี้หรือตั้งขึ้นด้านบน   เรานิยมเรียกกันว่า  กลีบนอกบน  (dorsal  sepal ก.๑)ส่วนกลีบนอกอีก ๒ กลีบนั้น  ชี้ออกทางด้านข้างหรือเฉียงลงข้างล่าง  มีลักษณะและสีเหมือนกันทั้งคู่   เราจึงเรียกว่า   กลีบนอกคู่ล่าง (lateral sepals ก.๒, ก.๓)  นอกจากดอกกล้วยไม้ในสกุลรองเท้านารี ซึ่งมีกลีบนอกคู่ล่างแฝดติดกัน  และชี้ลงด้านใต้ของดอก  ในทางวิชาการพฤกษศาสตร์ เราเรียกกลีบนอกคู่ล่างที่แฝดติดกันนี้ว่า synsepalum (ก.๒-๓)    เราสามารถสรุปได้ว่ากลีบนอกของกล้วยไม้ทั้ง  ๓ กลีบนี้  อาจมีลักษณะและสีสันเหมือนกันทั้งหมดก็ได้   หรือกลีบนอกบนกลีบเดียวที่มีลักษณะและสีสันแตกต่างออกไปแล้วแต่ชนิดของกล้วยไม้   ส่วนกลีบนอกคู่ล่างทั้งคู่จะต้องมีสีสันและลักษณะเหมือนกันเสมอ  ไม่ว่าจะเป็นกล้วยไม้ชนิดใดก็ตาม  เราจึงเรียกว่า  กลีบนอกคู่ล่าง ในบรรดากลีบในทั้ง  ๓ กลีบนั้น  เนื่องจากเป็นชุดของกลีบ ซึ่งอยู่สลับกับกลีบนอก   ดังนั้น   จะมีกลีบในคู่หนึ่ง  (ข.๒,ข.๓)ชี้ออกทางด้านข้างของดอก   หรือเฉียงขึ้นข้างบนข้างละกลีบ  กลีบถ้ามองดูจากด้านหน้า

 

       พันธ์กล้วยไม้

   ได้มีการส่งเสริมให้นำเอาพันธุ์ไม้   ซึ่งชนรุ่นก่อนๆได้นำเข้ามาจากต่างประเทศ   มาพิจารณาเน้นความสำคัญในด้านการผลิต เพื่อประโยชน์ทางเศรษฐกิจ  ร่วมกันไปกับการชักจูงให้ประชาชน ได้สนใจพันธุ์กล้วยไม้พื้นเมืองที่มีอยู่ในประเทศไทย    เพื่อนำมาคัดพันธุ์  ผสมพันธุ์   และผลิตลูกผสมใหม่ๆ แปลกๆ    ออกมาสู่สังคมทั้งในและต่างประเทศด้วย

   สกุลกล้วยไม้ที่นิยมเลี้ยงกันในประเทศอย่างแพร่หลายมีตัวอย่างเช่น สกุลหวาย   คัทลียา   ออนซีเดียม  (Oncidium) แวนดา  ฟาแลนอปซิส (Phalaenopsis) รินคอสไทลิส หรือสกุลช้าง(Rhynchostylis) แมลงปอลาย (Arachnis)แอสโคเซนทรัมหรือเข็ม (Ascocentrum) และแวนดอปซิส (Vandopsis)เป็นต้น  กล้วยไม้สกุลต่างๆ ตามที่ได้ยกตัวอย่างมานี้ทั้งหมด  แม้จะมีบางสกุลและบางชนิดซึ่งถูกนำมาจากภูมิภาคอื่นของโลก แต่ก็ได้ปรากฏผลว่า   เจริญงอกงามดีในสภาพแวดล้อมของประเทศไทย  จึงได้มีการส่งเสริมให้ประชาชนสนใจ  และผสมพันธุ์ผลิตกล้วยไม้ลูกผสม ใหม่ๆ  มีลักษณะสวยงามในแบบแปลกออกไปอย่างกว้างขวาง    ทำให้ ประเทศไทยกลายเป็นประเทศหนึ่งซึ่งมีผลงานผสมพันธุ์กล้วยไม้เมืองร้อน เป็นที่รู้จักแพร่หลายในประเทศต่างๆทั่วโลก

 

    อ้างอิง

             http://www.panmai.com/Orchid/orchid.shtml

 

Advertising Zone    Close
 
Online:  1
Visits:  4,137
Today:  4
PageView/Month:  5

ยังไม่ได้ลงทะเบียน

เว็บไซต์นี้ยังไม่ได้ลงทะเบียนยืนยันการเป็นเจ้าของเว็บไซต์กับ Siam2Web.com